กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน.............อ่านทุกตอนสามวรรคประจักษ์แถลง ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง..............ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน มีกำหนดบทระยะกะสัมผัส....................ให้ฟาดฟัดชัดความตามกระสวน วางจังหวะกะทำนองต้องกระบวน..........จึงจะชวนฟังเสนาะเพราะจับใจ ฯ |
ตัวอย่างกลอนแปด
กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน.........อ่านทุกตอนสามวรรคประจักษ์แถลง
ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง.............ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน
ตอนต้นสามตอนสองสองแสดง.............ตอนสามแจ้งสามคำครบจำนวน
มีกำหนดบทระยะกะสัมผัส....................ให้ฟาดฟัดชัดความตามกระสวน
วางจังหวะกะทำนองต้องกระบวน...........จึงจะชวนฟังเสนาะเพราะจับใจ ฯ
วางจังหวะกะทำนองต้องกระบวน...........จึงจะชวนฟังเสนาะเพราะจับใจ ฯ
หลักการแต่งกลอนแปด กลอนสุภาพ-ฉันทลักษณ์
๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ มีอยู่ ๘ คำ จะใช้คำเกินกว่ากำหนดได้บ้าง แต่ต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยเสียงสั้น
๒. การส่งสัมผัส คำที่ ๘ ของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรคที่สอง คำที่ ๘ ของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ ของวรรคที่ ๓
คำ ที่ ๘ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือที่ ๕ ของวรรคที่ ๔ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
๓. วรรคสดับ หรือวรรคแรก คำสุดท้ายใช้คำเต้น คือ เว้นคำสามัญใช้ได้หมด แต่ถ้าจำเป็นจะใช้เป็นเสียงสามัญก็อนุญาตให้ใช้ได้บ้าง แต่อย่าบ่อยนักพยายามหลีกเลี่ยง
๔. วรรครับ หรือวรรคสอง คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ส่วน เอก โท ตรี ได้บ้าง ห้ามเด็ดขาดคือ เสียงสามัญ
๕. วรรครอง หรือวรรคสาม คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๖. วรรคส่งหรือวรรคสี่ คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๗. คำที่ ๓ ของวรรครองและวรรคส่ง ใช้ได้ทุกเสียง
๘. นิยมสัมผัสในระหว่างคำที่ ๕-๖-๗ ของทุก ๆ วรรค
๙. นิยมสัมผัสชิดในระหว่างคำที่ ๓-๔ ของวรรคสดับและวรรครอง
๑๐. อย่าให้มีสัมผัสเลือน, สัมผัสซ้ำ, สัมผัสเกิน, สัมผัสแย่ง, สัมผัสเผลอ, และสัมผัสเพี้ยน
๑. ในวรรคหนึ่ง ๆ มีอยู่ ๘ คำ จะใช้คำเกินกว่ากำหนดได้บ้าง แต่ต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยเสียงสั้น
๒. การส่งสัมผัส คำที่ ๘ ของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรคที่สอง คำที่ ๘ ของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๘ ของวรรคที่ ๓
คำ ที่ ๘ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือที่ ๕ ของวรรคที่ ๔ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป
๓. วรรคสดับ หรือวรรคแรก คำสุดท้ายใช้คำเต้น คือ เว้นคำสามัญใช้ได้หมด แต่ถ้าจำเป็นจะใช้เป็นเสียงสามัญก็อนุญาตให้ใช้ได้บ้าง แต่อย่าบ่อยนักพยายามหลีกเลี่ยง
๔. วรรครับ หรือวรรคสอง คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ส่วน เอก โท ตรี ได้บ้าง ห้ามเด็ดขาดคือ เสียงสามัญ
๕. วรรครอง หรือวรรคสาม คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๖. วรรคส่งหรือวรรคสี่ คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์
๗. คำที่ ๓ ของวรรครองและวรรคส่ง ใช้ได้ทุกเสียง
๘. นิยมสัมผัสในระหว่างคำที่ ๕-๖-๗ ของทุก ๆ วรรค
๙. นิยมสัมผัสชิดในระหว่างคำที่ ๓-๔ ของวรรคสดับและวรรครอง
๑๐. อย่าให้มีสัมผัสเลือน, สัมผัสซ้ำ, สัมผัสเกิน, สัมผัสแย่ง, สัมผัสเผลอ, และสัมผัสเพี้ยน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น